รู้ก่อนพลาด! ก่อนจะ Built-in
เฟอร์นิเจอร์ Built-in คือเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ และมีความทนทานมากกว่าเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว หากคุณคิดจะติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ Built-in แต่ไม่รู้ข้อมูลเลย วันนี้เรามีคำแนะนำคร่าวๆ แวะมาบอกกันคะ
เฟอร์นิเจอร์ Built-in VS เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ต่างกันอย่างไร?
- เฟอร์นิเจอร์แบบ Built-in คือเฟอร์นิเจอร์ที่สั่งทำแบบที่ลูกค้าต้องการ และดีไซน์ที่ค่อนข้างตรงกับความต้องการของเจ้าของบ้าน โดยจะติดตั้งยึดติดกับพื้นที่ไปเลย
- เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว คือเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ คือเฟอร์นิเจอร์ที่เราพบเจอกันทั่วไปปกติ ซึ่งสามารถเลือกขนาดที่พอดีกับห้องได้เช่นกัน
ขั้นตอนการเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ Built-in
- วัดขนาดพื้นที่
- หาแบบที่สนใจ และวัสดุที่ต้องการ
- เตรียมงบประมาณ
- ศึกษาข้อมูล หาบริษัทหรือช่างที่ไว้ใจได้ มีผลงาน และน่าเชื่อถือ
สไตล์งาน built-in
- Modern – แบบที่เน้นความเรียบง่าย เรียบหรูดูดี
- Minimal – แบบที่ดูชิคและเรียบง่าย
- Classic – แบบที่เน้นความสวยคลาสสิกเท่าเทียมกัน เฟอร์นิจอร์จะเชื่อมโยงกันทั้งรูปแบบ สี และลวดลาย
- Loft – การเปลือยผิววัสดุแบบไม่มีการตกแต่ง เน้นของตกแต่งที่ทำจากอิฐ เหล็ก ปูน และไม้
งบประมาณงาน built-in
- สำหรับผู้ที่มีงบประมาณจำกัด – วัสดุที่ใช้นิยมเป็นไม้ปาติเคิลบอร์ด ปิดทับด้วยกระดาษพิมพ์ลายไม้แผ่นฟอยล์ หรือแผ่นเมลามีนก่อนการใช้งาน งานไม้ชนิดนี้นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์เนื่องจากราคาถูก และสามารถความคุมต้นทุนได้
- สำหรับผู้ที่มีกำลังซื้อมากขึ้น – วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ ไม้อัดยาง กรุโครงไม้จ๊อยท์ ไม้จริงอัดประสาน ไม้พลาสวูด เป็นแผ่นพีวีซีชนิดแข็ง กันน้ำได้ ปลวกไม่กิน หรือใช้ไม้จริงไปเลย ตามแต่งบประมาณของเราได้เลย
วัสดุที่เลือกใช้กับงาน built-in
วัสดุไม้
-
-
- ไม้อัดปาติเกิล – ทำจากขี้เลื่อยหยาบ อัดเป็นแผ่น ไม่ทนน้ำ บวม และเปื่อย งานราคาถูก
- ไม้อัด MDF – ทำจากขี้เลื่อยละเอียด อัดเป็นแผ่น ไม่ทนน้ำ น้ำหนักเยอะ แต่ดีกว่าปาติเกิล
- ไม้อัด HMR – ทำจากขี้เลื่อยละเอียด อัดเป็นแผ่นด้วยกาวกันน้ำทำให้ทนชื้นได้ดีกว่า MDF และปาติเกิล
- ไม้อัดยางกรุโครงไม้จ๊อยท์ – ทำจากไม้จริงที่ฝานเป็นแผ่นบางๆ อัดซ้อนกันแบบกากบาท น้ำหนักเบาแต่แข็งแรง
- ไม้จริงอัดประสาน – ทำจากไม้จริงชิ้นเล็กๆนำมาต่อกันด้วยกาว อัดขั้นรูปเป็นแผ่น
- ไม้จริง – คือนำไม้จริงๆมาตกแต่งบ้าน
-
วัสดุปิดผิว
-
-
- กระดาษฟรอย์ – ราคาถูก เนื้อฟิมล์บาง ต้องปิดผิวด้วยเครื่องจักรเท่านั้น ไม่ค่อยทนน้ำ ความหนาประมาณ 0.2-0.4 มิลลิเมตร
- วัสดุปิดผิวแบบ PVC – ฟิมล์ยืดหยุนได้ดี ทนรอยและทนน้ำได้พอใช้ ปิดผิวงานเข้าขอบโค้งเว้าได้ ความหนา 0.4-0.6 มิลลิเมตร
- แผ่นลามิเนต HPL – มีความหนาตั้งแต่ 0.6-1.2 มิลิเมตร ขึ้นอยู่กับลาย ยี่ห้อและราคา ทนรอยขีดข่วนและน้ำได้ดี
- แผ่นไม้บางหรือวีเนียร์ไม้จริง – คือไม้ชนิดต่างๆที่ฝานมาเป็นแผ่นบางๆ ความหนา 0.8-1.2 มิลิเมตร นำมาปิดผิวงานให้ดูเป็นไม้ชนิดนั้นๆ ให้ความรู้สึกเป็นไม้ ต้องทำสี ไม่ค่อยทนรอยขีดข่วน
-