Built-in furniture ต่างจาก Fit-in furniture อย่างไร?
หลายท่านอ่านคิดว่าเฟอร์นิเจอร์ทั้ง 2 นี้เหมือนกัน และมักจะถูกเหมารวมกับภายใต้ร่มของคำว่า “Built-in” เนื่องจากมีรูปลักษณ์ที่เหมือนกันมาก จนแทบแยกไม่ออกกันเลยทีเดียว เรามาดูกันว่า Built-in กับ Fit-in มีความแตกต่างกันอย่างไร
Built in furniture
วัสดุหลัก : คือไม้อัดยางราคาสูง ซึ่งเป็นไม้จริงในการผลิตและทำได้ยาก ต้องใช้เวลาทำนานและช่างก็ต้องมีฝีมือเก่งมากๆ ในการทำงานให้ออกมาเรียบร้อย
สร้างโครงสร้าง : ด้วยเทคนิคการเพาะโครงไม้อัดเพื่อประกอบเป็นตู้ โดยใช้แผงข้างหรือผนังตู้ร่วมกันเป็นส่วนใหญ่
ระยะเวลาที่ใช้ : ค่อนข้างนาน เนื่องจากต้องนำไม้อัดเป็นแผ่นก่อน แล้วไปตัดทำโครงสร้างที่หน้างานและพ่นสีหรือติดลามิเนตเมื่อขึ้นโครงสร้างเสร็จ
ชิ้นงาน : เรียบร้อยสวยงามทนทาน แต่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากยึดติดเข้ากับตัวบ้านอย่างถาวร กรณีเกิดความเสียหาย เนื่องจากตู้ไม่ได้แยกเป็นชิ้นส่วน อาจต้องรื้อทั้งหมดก็ได้
Fit-in furniture
วัสดุหลัก :คือไม้ปาร์ติเกิ้ลบอร์ด ไม้ MDF บอร์ด และไม้อัด มีราคาต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้ ราคาอยู่ที่ระดับกลาง-สูง ทำได้ง่ายกว่าในเรื่องของเทคนิคในการตัดชิ้นงานเป็นหลายขนาด แล้วนำมาประกอบเป็นตู้ก่อนนำไปติดตั้ง เนื่องจากทำได้ไม่ยาก และสะดวกรวดเร็ว สามารถผลิตชิ้นส่วนล่วงหน้าได้ งานแนว Fit-in จึงเป็นที่นิยมของบริษัทเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น IKEA เป็นต้น
สร้างโครงสร้าง : ด้วยเทคนิคการประกอบชิ้นส่วน ซึ่งแต่ละตู้จะมีไม้ที่ถูกตัดเป็นขนาดเหมาะสมมาประกอบกัน
ระยะเวลาที่ใช้ : 1-3 วัน เนื่องจากผลิตเป็นชิ้นงานประกอบสำเร็จและนำไปติดตั้งหน้างานได้เลย หากเป็นงานสีหรืองานลามิเนตก็สามารถทำไปจากโรงงานได้เลย
ชิ้นงาน : เรียบร้อย สวยงาม Furniture Built-in ข้อดีคือสามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยใช้ฟิตติ้งพิเศษสามารถถอดออกได้ และสามารถถอดออกมาแก้ไขได้ด้วย ตอนนี้มีวัสดุรุ่น HMR ออกมา เพื่อช่วยในข้อด้อยเรื่องกันความชื้น และยังมีไม้อัดที่สามารถเลือกใช้ได้หากมีงบประมาณเพียงพอ
รู้จัก Type of furniture ก่อนนำไปใช้งาน
เฟอร์นิเจอร์ Built-in จะต่างกับเฟอร์นิเจอร์ Knock-down ตรงที่การติดตั้งจะใช้ระยะเวลานานกว่า ช่างสามารถขึ้นงานโครงตู้ไว้แล้วยกมาประกอบที่หน้างาน หรือขึ้นงานทั้งหมดที่หน้างานเลยก็ได้ ส่วนเฟอร์นิเจอร์ประเภท Knock-down จะผลิตเป็นแผ่นชิ้นงานที่ปิดผิวสวยงาม แล้วนำมาประกอบที่หน้างานโดยใช้ระยะเวลาสั้นมาก
Type of furniture
Built in furniture
เป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่ติดตั้งอยู่กับที่ หรือฝังเข้าไปในผนัง มีรูปแบบเฉพาะตัว ตามความต้องการของผู้ใช้ เฟอร์นิเจอร์ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะยึดติดกับโครงสร้างอาคาร เคลื่อนย้ายได้ยาก และต้องใช้ช่างเฟอร์นิเจอร์ในการประกอบติดตั้ง อีกทั้งยังเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่มีราคาสูงอีกด้วย
Loose furniture หรือ Freestanding furniture
เป็นเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งอยู่กับที่ แต่มีการออกแบบและผลิตมาจากโรงงาน ลูกค้าสามารถเลือกแบบได้ แต่เนื่องจากเป็นเฟอร์นิเจอร์สำเร็จรูป จึงไม่ยึดหยุ่นตามสภาพ นั้นจึงต้องเลือกแบบและขนาดให้รอบคอบก่อนที่จะซื้อใช้งาน ข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน คือสามารถเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่า โดยไม่ต้องรื้อให้เสียหาย
Knockdown furniture
เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบได้ โรงงานจะผลิตครั้งละมากๆ ในรูปแบบเดียวกัน การติดตั้งจะใช้ช่างหรือติดตั้งด้วยตนเองก็ได้ เป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถเคลื่อนย้ายง่าย แต่ขั้นตอนการออกแบบค่อนข้างยาก เพราะต้องออกแบบให้ชิ้นส่วนต่างๆ ของเฟอร์นิเจอร์ สามารถต่อกันได้และมีความแข็งแรงเพียงพอ
Built-in VS ลอยตัว
เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบไหน จึงจะตอบโจทย์การอยู่อาศัยของตัวเองมากที่สุด ระหว่างเฟอร์นิเจอร์ built-in กับเฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว วันนี้เรามีทริคเล็กๆน้อยๆ ที่จะทำให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น เเละเพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายว่าแบบไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด
เฟอร์นิเจอร์ Built-in ?
คือเฟอร์นิเจอร์แบบตายตัว ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ มักทำตามความต้องการของลูกค้าในการออกแบบ เฟอร์นิเจอร์สไตล์นี้มาพร้อมกับห้องชุด เน้นให้ทุกพื้นที่ใช้งานได้อย่างเต็มที่
ข้อดีเฟอร์นิเจอร์ Built-In
- การตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน ถูกออกแบบและติดตั้งเข้าพอดีกับพื้นที่ห้อง ช่วยจัดวางตำแหน่งได้สัดส่วนกับขนาดห้อง ทำให้ห้องดูเป็นระเบียบเรียบร้อย
- เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน สามารถดัดแปลงการออกแบบได้ทั้งเรื่องสไตล์ ขนาด ชนิดวัสดุ และรูปแบบการใช้งานได้ตามใจลูกค้า
- เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน มีความแข็งแรงทนทาน และยึดติดกับกับโครงสร้างผนัง จึงลดการเกิดช่องว่างที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้ และจุดที่สะสมของฝุ่น สิ่งสกปรกด้วยเช่นกัน
ข้อเสียของเฟอร์นิเจอร์ Built-In
- เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อินมีต้นทุนค่อนข้างสูง โดยคิดรวมกับค่าออกแบบ วัดพื้นที่ ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ จำนวนจุดติดตั้ง รวมถึงค่าช่างด้วย ซึ่งอาจมีราคาขั้นต่ำสูงถึง 100,000 – 200,000 บาทขึ้นไป
- เฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อิน เคลื่อนย้ายไม่ได้เมื่อติดตั้งแล้ว การรื้อถอนเฟอร์นิเจอร์บิ้วท์อินเป็นงานที่ยุ่งยาก หากต้องการเปลี่ยนการตกแต่ง อาจต้องคำนึงถึงในหลายๆส่วน ทั้งเรื่องสไตล์ใหม่ที่อาจไม่เข้ากัน และสิ่งสำคัญคือเรื่องเงินที่ต้องจ้างช่างรื้อถอนใหม่ และต้องทำใหม่ ซึ่งมีราคาสูงมากแน่นอน
เฟอร์นิเจอร์ลอยตัว ?
คือเฟอร์นิเจอร์ที่ขายทั่วไป สามารถจัดวางตรงไหนก็ได้ในห้องได้ตามใจชอบ เฟอร์นิเจอร์จะถูกออกแบบสำเร็จมาแล้วจากโรงงาน ไม่สามารถแก้ไข ดัดแปลงรูปแบบตามความชอบได้ และเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบน็อคดาวน์
ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
- เฟอร์นิเจอร์สามารถเคลื่อนย้ายตำแหน่งการจัดวางได้ตามสะดวกต่อการใช้งาน โดยเมื่อเสื่อมสภาพการใช้งานก็สามารถขนย้ายออกเป็นชิ้นๆได้
- ได้เห็นหน้าตาและขนาดสัดส่วนของเฟอร์นิเจอร์จริงก่อนซื้อ
ข้อเสียของเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
- ความทนทานของเฟอร์นิเจอร์แปรผันตามราคาและคุณภาพวัสดุ หากเป็นวัสดุต้นทุนต่ำ อายุการใช้งานก็จะสั้นลงไปด้วย
- เฟอร์นิเจอร์บางชิ้น อาจมีสัดส่วนไม่พอดีกับห้อง ทำให้เสียพื้นที่ใช้สอย จึงต้องทำการวัดระยะสัดส่วนของห้องให้ละเอียด ก่อนซื้อเพื่อให้ได้เฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่นั่นเอง
รูปแบบตู้ built in ที่ใช้จัดเก็บของภายในบ้าน
การสร้างบ้าน หลายคนคงมีความคิดที่จะทำพื้นที่เก็บของเพื่อเพิ่มพื้นที่ภายในบ้าน แน่นอนการเลือกใช้ เฟอร์นิเจอร์ built in จึงเป็นตัวเลือกหลักของคุณ ดังนั้นการกำหนดขนาด รูปแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่ใครหลายคนเห็นด้วย เราจึงมีแนวคิด 5 รูปแบบตู้ built in ที่ใช้จัดเก็บของภายในบ้าน เพื่อเป็นอีกหนึ่งแนวทางให้กับคุณ ในการออกแบบ built in และเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ใช้พื้นที่บนผนัง
ผนัง สามารถทำให้เกิดประโยชน์ได้แค่คุณวางตู้ built-in ขนาบกับผนัง พร้อมนำทีวี ของตกแต่งไว้ในตู้เดียวกัน แค่นี้ก็จะเหลือพื้นที่เยอะแยะที่จะใช้ทำกิจกรรมอื่นๆได้อีกมากมาย
สร้างที่จัดเก็บไว้โดยรอบ
หากคุณเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ built in และอยากใช้เกิดประโยชน์มากที่สุด การสร้างพื้นที่จัดเก็บไว้โดยรอบ จะทำให้เหลือพื้นที่เก็บของเล็กๆจุกจิกๆให้มีระเบียบยิ่งขึ้น และจะทำให้หยิบจับสิ่งของได้ง่ายขึ้นด้วย
เห็นความสำคัญทุกมุมบ้าน
ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวเล็กหรือใหญ่ การเหลือพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านมากขึ้น ถือเป็นการประสบความสำเร็จอย่างหนึ่งในการออกแบบบ้านของเรา ทุกพื้นที่ซอกมุมในบ้าน คุณสามารถกำหนดขนาดของเฟอร์นิเจอร์ built in ให้เข้ากับทุกมุมของบ้านได้อย่างแน่นอน
ปรับเปลี่ยนรูปแบบ
นอกจากเราอยากได้ที่เก็บของในบ้านแล้ว ความสวยงามก็ถือเป็นอีกสิ่งนึงที่คนทำบ้านต้องการ แค่คุณลองปรับเปลี่ยนรูปทรงของเฟอร์นิเจอร์ built in ดูซักหน่อย อาจทำให้บ้านดูมีสไตล์และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวบ้านคุณเพิ่มขึ้นแน่นอน
Built-in พื้นที่ใต้ที่นั่ง
การเพิ่มพื้นที่จัดเก็บ อีหหนึ่งวิธีที่ไม่ควรมองข้ามคือทำที่จัดเก็บใต้ที่นั่ง ไม่ว่าคุณจะทำเป็นลิ้นชัก บานประตูเลื่อน หรือปล่อยโล่ง ก็แล้วแต่ไอเดียของคุณ จะออกแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปทรงของที่นั่งยังไง ก็ดูเกร๋และทำให้ห้องดูมีอะไรมากยิ่งขึ้นด้วย